การหายใจของสัตว์

1.สัตว์บก

สัตว์บกที่มีกระดูกสันหลังขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนเติบโตอยู่ในไข่หรือในครรภ์มารดานั้น  มีน้ำเหลวห่อหุ้มตัวอยู่กันความกระทบกระเทือนและมีช่องเหงือก (gill slits)  เกิดขึ้นที่บริเวณคอหอยคล้ายๆ กับสัตว์พวกปลา แต่เมื่อคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เหงือกอีกต่อไป จึงเกิดมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปเป็นปอดเกิดขึ้นตรงบริเวณที่เป็นช่องเหงือกเดิม แต่แทนที่จะยื่นออกมานอกร่างกายเหมือนเหงือกกลับซ่อนอยู่ภายในร่างกายอย่างมิดชิด  ปอดเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงในสัตว์บก และเป็นอวัยวะที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดยกเว้นพวกปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีชีวิตอยู่ในน้ำตลอดชีวิต ส่วนในสัตว์บกชั้นต่ำเช่น พวกแมลงต่างๆ อวัยวะหายใจเป็นพวกท่อลมเล็กๆ (trachea) ซึ่งจะแตกแขนงแยกไปตามเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด  เช่น  พวกหอยทากก็มีปอดเป็นอวัยวะหายใจด้วย  แต่ไม่สลับซับซ้อนเท่าปอดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

            ไม่ว่าอวัยวะหายใจของสัตว์บกจะเป็นปอดหรือท่อลมก็ตาม  อวัยวะดังกล่าวจะทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซหายใจให้ดีได้จะต้องมีพื้นที่ผิวของเนื้อเยื่อภายในซึ่งเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกันที่พบในพืชชั้นสูง

2.สัตว์ปีก

         สัตว์ปีกเป็นสัตว์เลือดอุ่น ร่างกายสามารถที่จะรักษาอุณหภูมิให้คงที่ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ปีกของสัตว์มีลักษณะเป็นแฝง ปากมีลักษณะเป็นจงอยแข็งโดยมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เหมาะกับอาหารที่กิน ลักษณะเท้าก็แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต การเคลื่อนที่และการกินอาหาร สัตว์ปีกหายใจโดยใช้ปอดเป็นถุงลม สำหรับเก็บอากาศขณะบินในที่สูง สัตว์ปีกอาศัยการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ ตัวเมียจะออกลูกออกมาเป็นไข่ ตัวอ่อนจะเจริญอยู่ภายในไข่ โดยใช้อาหารที่สะสมไว้ภายในไข่ โดยใช้อาหารที่สะสมไว้ภายในไข่จนหมดจึงออกมาจากไข่โดยจิกเปลือกไข่ให้แตกออก สัตว์ปีกทั้งที่ปีกได้และปีกไม่ได้    

การทำงานของระบบต่างๆ ของนก ระบบหายใจ อวัยวะที่เกี่ยวข้อง กับการหายใจโดยเป็นทางผ่านของอากาศ ไปยังปอดของนก ได้แก่ รูจมูก ช่องปาก คอหอย หลอดลม กลออตติส ปอดของนกมีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำสีแดงมีตำแหน่งที่ช่องอก ปอดของนกจะเชื่อมต่อกับถุงลม ขณะที่นกหายใจเข้า ถุงลมจะขยายขนาดขึ้นอากาศจะผ่านเข้าสู่หลอดลม และเข้าสู่ถุงลมตอนท้าย ส่วนอากาศที่ใช้แล้วจะออกจากปอดเข้าสู่ถุงลมตอนหน้าในขณะที่หายใจออก อากาศที่ใช้แล้วจะออกจากถุงลมตอนท้ายจะเข้าสู่ปอด ทำให้ปอดพองออกและอากาศจากถุงลมทางด้านหน้า ถูกขับออกนอกร่างกายต่อไป เป็นอย่างนี้เสมอ การมีถุงลมของนก ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทอากาศ ให้เป็นแก่ปอดเป็นอย่างดี

3.แมลง

        การหายใจของตั๊กแตน หรือแมลงทั่วไปจะใช้ถุงลมเป็นอวัยวะสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊ส ถุงลมจะติดต่อกับภายนอกทางรูหายใจ ท่อลมจะแทรกอยู่ในร่างกายและแตกแขนงเป็นท่อเล็กๆ มากมาย เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแก็ส นอกจากนี้ภายในตัวตั๊กแตนยังมีถุงลมสำหรับทำหน้าที่เก็บอากาศไว้สำหรับหายใจ   ระบบการหมุนเวียน โลหิตของแมลง หัวใจของตั๊กแตนมีลักษณะเป็นท่อยาวๆ อยู่บริเวณทางด้านหลัง เลือดจะไหลผ่านทางช่องเปิดของหัวใจ และสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายทางด้านหน้า และไหลไปตามช่องลำตัวไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายและไหลกลับเข้าสู่หัวใจทางช่องเปิดของหัวใจเช่นเดิม

4.สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือเรียกอย่างทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (อังกฤษ: Amphibians) เป็นสัตว์ที่อยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดหรือขน หายใจด้วยเหงือก ปอด ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ส่วนใหญ่ตัวผู้จะมีถุงลมปากเพื่อใช้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม

ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลา อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง เขียด

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในหน้าแล้งใน

ช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน สัตว์พวกนี่ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งมันจะหายใจไม่ได้และอาจตายได้ เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู้กระแสโลหิต ระยะนี้มันจะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่

10 อันดับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สวยที่สุดในโลก

1. Stockholm Tunnelbana (Sweden)
 
 2. Munich U-Bahn (Germany)
 
 
 
 3. Shanghai Bund Sightseeing Tunnel (China)
4. Moscow’s Komsomolskaya Station (Russia)
5. Frankfurt Bockenheimer Warte Station
6. Metro Bilbao (Basque Country)
 
7. New York’s City Hall Station (US)
 
 
8. Chicago’s O’Hare Station (US)
 
9. Dubai Metro Station (UAE)
 
10. Pyongyang Metro (North Korea)
 

   

   

  

  

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!